ประวัติมหาวิทยาลัยรังสิต

 
 
     "ที่บริเวณรังสิตนั้น ครั้งหนึ่งเคยเป็นอู่ข่าวอู่น้ำที่สำคัญเลี้ยงชีวิตคนนับล้าน ที่นี่เคยเป็นบ่อเกิดแห่งความหวัง ความฝัน และจินตนาการ มหาวิทยาลัยรังสิตได้ถือกำเนิดและเติบโตที่นี่ในสภาพที่เป็นทุ่งร้างวังเวงแทบจะไม่เหลือร่องรอยอดีตอันเรืองรองใดๆ บัดนี้ เรากำลังบุกเบิกหนทางใหม่ เราจะให้ที่นี่เป็นความหวังทางการศึกษาสร้างชีวิตของผู้คนนับแสนให้มีอนาคตที่รุ่งเรืองสดใสและเชื่อมั่นว่าด้วยปณิธานและความทุ่มเทกายใจของพวกเรา สิ่งที่มุ่งหวังไว้จะต้องเป็นจริง"
 
       
 
 <>ใบอนุญาต ให้จัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
 
     ปณิธานนี้เป็นจุดเริ่มต้นและแรงบันดาลใจของคณะผู้ก่อตั้งโครงการมหาวิทยาลัยรังสิต ซึ่งประกอบด้วย นักวิชาการ ผู้ชำนาญการจากรัฐวิสาหกิจ และเพื่อนๆ ของคุณพ่อประสิทธิ์ อุไรรัตน์ ได้แก่
 
         ผู้ก่อตั้ง
            ๑. นายประสิทธิ์ อุไรรัตน์
            ๒. พลเอกพร ธนะภูมิ
            ๓. ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์
 
         ผู้เริ่มดำเนินการก่อตั้ง
            ๑. หม่อมราชวงศ์พัฒนไชย ไชยันต์
            ๒. ศาสตราจารย์ ดร. ชัย มุกตพันธุ์
            ๓. ศาสตราจารย์ ดร. สิปปนนท์ เกตุทัต
            ๔. ศาสตราจารย์ ดร. อาณัติ อาภาภิรม
            ๕. ศาสตราจารย์ ดร. นิพนธ์ ศศิธร
            ๖. ดร. อาชว์ เตาลานนท์
            ๗. ศาสตราจารย์ ดร. พนัส สิมะเสถียร
            ๘. ศาสตราจารย์ ดร. วีกูล วีรานุวัตติ์
            ๙. นาวาอากาศตรีกำธน สินธวานนท์
            ๑๐. ศาสตราจารย์ ดร. เอกวิทย์ ณ ถลาง
            ๑๑. ศาสตราจารย์ ดร. วิจิตร ศรีสะอ้าน
            ๑๒. ศาสตราจารย์ ดร. ปกรณ์ อดุลย์พันธ์
            ๑๓. นายสุนทร อรุณานนท์ชัย
            ๑๔. ดร. ประดิษฐ์ เชยจิตร
            ๑๕. คุณหญิงดวงใจ สิงหเสนีย์
            ๑๖. รองศาสตราจารย์ลออ หุตางกูร
            ๑๗. รองศาสตราจารย์ ดร. วินัย รังสินันท์
            ๑๘. ดร. จำลอง ทองดี
            ๑๙. ดร. วิศาล ชนะรัตน์
            ๒๐. ดร. สมบูรณ์ อินทรประเสริฐ
            ๒๑. ดร. อรัญ ชมไพศาล
            ๒๒. พันเอกชัยชาญ โมกขสมิต
            ๒๓. นายสุวิทย์ ชูสวัสดิ์
            ๒๔. นายสุทธิพงษ์ โอฬารสฤษดิ์กุล
            ๒๕. รองศาสตราจารย์สมพันธ์ หิญชีระนันทร์
            ๒๖. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุลักษณ์ มีชูทรัพย์
            ๒๗. นางปราณี ศิริสมบัติ
            ๒๘. นางสาววิภา แจ่มโสภณ
            ๒๙. ดร. วิไล จันทรประภา
            ๓๐. นายธงชัย สันติวงศ์
            ๓๑. ดร. เชาว์เลิศ เลิศโอฬาร
            ๓๒. ดร. ยอดยิ่ง คงทอง
            ๓๓. ดร. ธำรงศักดิ์ หมื่นจักร
            ๓๔. ดร. วราพรรณ น้อยสุวรรณ
            ๓๕. ดร. นฎาประไพ สุจริตกุล
            ๓๖. นายอดุลยศักดิ์ ตีรจินดา
            ๓๗. นางนิรมล พุ่มรุกขา
            ๓๘. นายกฤช เทพปฏิพัธน์
            ๓๙. นายพินิจ วุฒิพันธุ์
            ๔๐. นายพิชิต อัคราทิตย์
 
        
 
     ได้ร่วมลงทุนด้วยเงินกว่า ๑๕๐ ล้านในการเริ่มโครงการเมื่อปีพ.ศ. ๒๕๒๖ ด้วยความเห็นที่ตรงกันว่า การศึกษาระดับอุดมศึกษา ของประเทศยังไม่เพียงพอกับความต้องการ โดยเฉพาะในด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสาขาวิชาชีพที่สำคัญ ซึ่งรวมถึงเทคโนโลยีในด้านการบริหาร การจัดการการผลิต การบริการและวิชาชีพอิสระที่จะสามารถสร้างงานของตนเองได้
 
 
     โครงการมหาวิทยาลัยรังสิตจึงถือกำเนิดขึ้นบนผืนที่ดินซึ่งครั้งหนึ่งเป็นพื้นที่นาที่เคยอุดมสมบูรณ์ มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าเชื่อมติด กับสามเหลี่ยมหน้าจั่วกว้างกว่า ๑๖๐ ไร่ โดยในวันเสาร์ที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๒๗ นายกสภามหาวิทยาลัย อธิการบดี พร้อมด้วยคณะผู้ก่อตั้งได้ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ อาคารหลังแรกของโครงการชื่อ “ อาคารประสิทธิรัตน์ ” เพื่อใช้เป็นทั้งห้องเรียน ห้องสมุด ห้องทำงาน และสำนักงานของคณะบริหารธุรกิจ คณะพยาบาลศาสตร์ โครงการศิลปศาสตร์ และสำนักงานของหน่วยงานบริการทุกสายงาน
 
        
 
     และในช่วงเวลาต่อเนื่องกับการสร้างอาคารประสิทธิรัตน์การเริ่มต้นก่อสร้างอาคารประสิทธิ์พัฒนาซึ่งเป็นอาคารหอพักสูง ๑๒ ชั้น ๒ หลัง และอาคารโรงอาหารรูปดอกเห็ดก็ดำเนินการควบคู่กันไป ต้นปี พ.ศ. ๒๕๒๙ ทุ่งนาที่รกร้างและวังเวงได้เปลี่ยนสภาพไปโดยสิ้นเชิง จากถนนพหลยินมองตรงไปทางทิศตะวันตกมองเห็นธงไตรรงค์และธงประจำมหาวิทยาลัยรังสิตสีฟ้าบานเย็นโบกสะบัดอยู่เหนือพื้นดินอันกว้างใหญ่ที่เคยเป็นทุ่งกว้างและนาร้างมาก่อน
     ต่อมาเมื่อวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๓๓ วิทยาลัยรังสิตก็ได้รับการอนุมัติให้เป็นมหาวิทยาลัย ครั้นวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๓๓ มหาวิทยาลัยรังสิตได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาเป็นประธานในพิธีสถาปนาวิทยาลัยรังสิตขึ้นสู่ความเป็นมหาวิทยาลัยโดยสมบูรณ์ นับเป็นศิริมงคลแก่มหาวิทยาลัยรังสิตเป็นอย่างสูง
 
 
 

หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยรังสิต อาคารหอสมุด ชั้น ๖ หมู่บ้านเมืองเอก ถ.พหลโยธิน อ.เมือง จ.ปทุมธานี ๑๒๐๐๐ โทร. ๐๒-๙๙๗-๒๒๒๒ ต่อ ๓๔๕๗ โทรสาร ๐๒-๙๙๗-๒๒๒๒ ต่อ ๓๔๗๓