พระกรณียกิจ
<<< กลับสู่หน้า สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร
เมื่อทรงสำเร็จการศึกษาและเดินทางกลับประเทศไทยในวันที่ ๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๕๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระองค์เจ้าต่างกรมที่ "กรมหมื่นชัยนาทนเรนทร" ทรงรับราชการเป็น “ผู้ช่วยปลัดทูลฉลอง” กระทรวงธรรมการ และรับหน้าที่เป็น “ผู้บัญชาการโรงเรียนราชแพทยาลัย”
เสด็จในกรมฯ ทรงจัดตั้งการสอนวิชาแพทย์ปรุงยาขึ้นในโรงเรียนราชแพทยาลัยตามที่สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานาถได้ทรงปรารภเกี่ยวกับการ ขาดแคลนแพทย์ปรุงยาในกองทัพ ดังที่ได้นิพนธ์ไว้ว่า “เมื่อข้าพเจ้าได้เข้าไปจัดการศึกษาวิชาแพทย์และวิชาผดุงครรภ์และพยาบาลได้สักหน่อย สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานารถ ก็ทรงแสดงดำริห์มาว่าตามกรมกองทหารบกมีแพทย์ประจำหน่วยพยาบาลอยู่แล้ว และยังจะได้เพิ่มเติมไปอีกเรื่อยๆ แต่ทางเภสัชกรรมนั้นยังไม่มีผู้ที่ได้เรียนและได้รับการอบรมไปประจำตามที่จำหน่ายยาเลย ควรจะตั้งโรงเรียนแพทย์ปรุงยาขึ้นอีกแผนกหนึ่ง ข้าพเจ้าเห็นด้วยจึงได้จัดตั้งโรงเรียนปรุงยาขึ้น”
เมื่อทรงสำเร็จการศึกษาและเดินทางกลับประเทศไทยในวันที่ ๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๕๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระองค์เจ้าต่างกรมที่ "กรมหมื่นชัยนาทนเรนทร" ทรงรับราชการเป็น “ผู้ช่วยปลัดทูลฉลอง” กระทรวงธรรมการ และรับหน้าที่เป็น “ผู้บัญชาการโรงเรียนราชแพทยาลัย”
๑. การฝึกแพทย์ผสมยา จัดขึ้นอีกเป็นแผนกหนึ่งในราชแพทยาลัย
๒. รับนักเรียนจบชั้นมัธยมปีที่ ๖ แล้วเข้าเรียน
๓. กำหนดการเรียน เรียนวิชา ๒ ปี และฝึกงาน ๑ ปี
๔. จัดการให้จ้าง Dr. Lucius เป็นครูสำหรับแผนกนี้ โดยมีนายบุญช่วยเป็นครูผู้ช่วยหลักสูตรแพทย์ผสมยา พ.ศ. ๒๔๕๗ เป็นดังนี้
และโปรดประทานความรู้ภาษาละตินแก่นักเรียนแพทย์ปรุงยา ดังที่ได้เคยปรารภกับนักเรียนปรุงยาทั้งหลายว่า พวกนักปรุงยาจำเป็นต้องรู้ภาษาละตินได้ดี เพราะภาษาละตินเป็นภาษาสากล ประเทศที่เจริญแล้วเขาใช้ภาษาละตินสำหรับเขียนตำรับยาหรือใบสั่งยากันทั้งนั้นต่อมาแผนกปรุงยาได้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนเภสัชกรรมในปี พ.ศ.๒๔๗๖ และได้พัฒนามาเป็นคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลจวบจนปัจจุบัน ด้วยคุณูปการที่กล่าวมาเสด็จในกรมฯ จึงได้ทรงรับการเชิดชูเฉลิมพระเกียรติเป็น “พระบิดาของวิทยาศาสตร์เภสัชกรรมแห่งประเทศไทย” ในเวลาต่อมา
พ.ศ. ๒๔๕๘ ทรงปรับปรุงหลักสูตรการเรียนวิชาพยาบาลผดุงครรภ์ ให้ได้มาตรฐาน ซึ่งในสมัยนั้นยังนิยมใช้การแพทย์แผนโบราณ คลอดบุตรโดยหมอตำแยกันอยู่ ทรงส่งเสริมให้ข้าราชบริพารในสมเด็จพระศรี สวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เข้าเรียนต่อหลักสูตรของศิริราชพยาบาล สนับสนุนให้ศึกษาวิชาแพทย์และพยาบาลแผนปัจจุบันให้มากขึ้น ทรงปลูกฝังความนิยมในการเรียนแพทย์ให้เป็นที่แพร่หลาย จัดการศึกษาในโรงเรียนแพทย์ให้มีมาตรฐาน นอกจากนี้พระองค์ท่านยังเป็นผู้โน้มน้าวสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช ให้ทรงสนพระทัยวิชาการแพทย์
พ. ศ. ๒๔๖๐ ทรงได้รับตำแหน่งอธิบดีกรมมหาวิทยาลัยในกระทรวงธรรมการ เสด็จในกรมฯ ได้ทรง เพิ่มคณะใหม่ๆ ในมหาวิทยาลัย ได้แก่ คณะแพทยศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ และคณะวิศวกรรมศาสตร์ และให้โรงเรียนราชแพทยาลัยเป็นคณะแพทยศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาแพทย์เพิ่มระยะเวลาการศึกษาเป็น ๖ ปี
พ.ศ. ๒๔๖๐ ทรงจัดตั้งกองนักเรียนแพทย์เสือป่า และทรงดำรงตำแหน่งผู้บังคับการกรมนักเรียนแพทย์เสือป่าหลวง
พ.ศ. ๒๔๖๑ ทรงได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นอธิบดีกรมสาธารณสุขคนแรก สมัยนั้นคำว่า “สาธารณสุข” ยังเป็นคำใหม่ซึ่งคนไทยไม่เข้าใจ จึงทรงวางรากฐาน ประสัมพันธ์และวางแผนจัดทำโครงการ แบ่งงานสาธารณสุขในพระราชอาณาเขตเป็นสาธารณสุขจังหวัดในปัจจุบัน แม้กระนั้นพระองค์ก็ยังทรงห่วงใยเรื่องหลักสูตรแพทย์ปรุงยา โดยทรงรับสั่งกับรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขไว้ว่า
“เรื่องการเภสัชกรรมนั้นมีความสำคัญมาก สมควรที่ต้องมีกฎหมายบังคับคุ้มครองขึ้น จัดให้มีการแบ่งแยกหน้าที่ของแพทย์และเภสัชกรตามแบบแผนที่ถูกต้อง ตลอดจนถึงการควบคุมคุณภาพ และมาตรฐานของยาตามแบบยุโรป เพื่อสวัสดิภาพและความปลอดภัยของประชาชน”
ระหว่างที่ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมสาธารณสุขทรงริเริ่มงานการศึกษาและฝึกอบรม การควบคุมป้องกันโรค จัดให้มีกองกำกับโรคระบาด กักกันผู้เป็นโรคและต้องสงสัยว่าเป็นโรคเมื่อเดินทางเข้าประเทศ จัดให้มีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคระบาด ปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ
นอกจากนี้ ได้ทรงริเริ่มให้มีประราชบัญญัติเกี่ยวกับการสาธารณสุขเป็นครั้งแรก ได้แก่ พระราชบัญญัติการรักษาความสะอาดในเขตสุขาภิบาล พระราชบัญญัติควบคุมอาหารและยา พระราชบัญญัติการแพทย์เพื่อควบคุมและวางระเบียบจรรยาบรรณการประกอบการแพทย์
พ.ศ. ๒๔๖๕ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนขึ้นเป็นกรมขุนชัยนาทนเรนทร
พ.ศ. ๒๔๖๘ หลังจากทรงรับราชการมาเป็นเวลา ๑๒ ปี ได้กราบถวายบังคมทูลลาออกจากราชการในวันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๘ เนื่องจากพระอนามัยไม่สมบูรณ์
เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติได้เฉลิมพระนามเป็นพระเจ้าพี่ยาเธอกรมขุนชัยนาทนเรนทร และทรงแต่งตั้งเป็นองคมนตรี เมื่อวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๔๖๘
พ.ศ. ๒๔๗๕ เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปรักษาพระองค์ที่สหรัฐอเมริกา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ทรงดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และทรงแต่งตั้งเสด็จในกรมฯ เป็นที่ปรึกษาของผู้สำเร็จราชการ
พ.ศ. ๒๔๘๑ สมเด็จพระพันวสาอัยยิกาเกล้าเจ้าทรงมอบหมายให้เสด็จในกรมฯ เป็นพระอภิบาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอฯ และสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอฯ เมื่อครั้งเสด็จนิวัตพระนครเป็นครั้งแรก
พ.ศ. ๒๔๙๐ ทรงได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
พ.ศ. ๒๔๙๓ โปรดเกล้าฯ ให้เป็นประธานองคมนตรี พระราชทานยศพลเอกนายทหารพิเศษประจำกองพันที่ ๑ กรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์ และให้สถาปนาพระยศเป็นกรมพระชัยนาทนเรนทร และดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์